มาตรการรัฐบาลเยียวยา Government-measuresจากวิกฤติเศรษฐกิจคนตกงาน จากพ้นกระทบไข้ไวรัสโควิด และมาตรการที่ทางรัฐบาลประกาศให้มีการปิดห้างร้านและกิจการชั่วคราว จึงทำให้เกิดภาวะคนตกงาน ซึ่งปัจจุบันทางรัฐบาลกำลังหามาตรการช่วยเหลือลูกจ้างและแรงงานเหล่านี้อยู่ และล่าสุดมีมาตรการที่จะให้เงินสนับสนุนคนละ 5,000 บาทต่อเดือน
เป็นระยะเวลาสามเดือน พร้อมให้สินเชื่อวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ต่อรายโดยไม่ต้องมีหลักประกัน หรือสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย 0.35 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ต้องมีหลักประกัน โดยมีระยะเวลากู้ไม่เกินสามปี ซึ่งได้แบ่งกลุ่มที่จะรับเงินออกเป็นดังนี้
กลุ่มแรงงานลูกจ้าง มีมาตรการคือ
- สนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาสามเดือน เพื่อเป็นการเยียวยาแรงงานลูกจ้างและลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จากกรณีการปิดพื้นที่เสี่ยต่อการระบาดชั่วคราว
- สินเชื่อวงเงินฉุกเฉินไม่เกิน 10,000 บาทโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือสินเชื่อพิเศษวงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายในอัตราดอกเบี้ย 0.35 เปอร์เซ็นต์ ต่อเดือน ซึ่งต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี
- โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสำนักงานธนานุเคราะห์เพื่อช่วยเหลือประชาชน ปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ สธค. เพื่อให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
- ยืดระยะเวลาการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปจนถึง 31 สิงหาคม ปี 63
- เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท
กลุ่มผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 7 มาตรการ ได้แก่
- สินเชื่อรายย่อย วงเงินต่อรายไม่เกิน สามล้านบาท
- เลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด. 50 และภงด. 51
- เลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่งและชำระภาษี เช่น Vat ภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
ซึ่งมาตรการต่างๆที่ออกมานั้น ทางรัฐบาลพยายามหาทางช่วยเหลือผู้ประกอบการและพนักงานลูกจ้าง ทั้งที่ทำงานประจำและไม่ประจำตลอดผู้ที่มีอาชีพอิสระ เพื่อให้ประชาชนได้อยู่รอด และฝ่าภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบของไข้ไวรัสโควิด 19 นี้ไปด้วยกัน ซึ่งหากมาตรการนี้ได้ออกไปแล้ว และสถานการณ์การแพร่